5 ก.ค. 63 (เช้า) - มั่นคงบนทางสายกลาง : วันอาสาฬหบูชา เป็นโอกาสดีที่ชาวพุทธควรกลับมาใคร่ครวญว่าชีวิตของเราดำเนินอยู่บนทางสายกลางมากน้อยเพียงใด หลายคนเข้าใจว่าในเมื่อตนไม่ได้หมกมุ่นในกามสุข ไม่ได้ปรนเปรอหรือบำเรอตนด้วยสิ่งเสพทั้งวันทั้งคืน อีกทั้งไม่ได้ทรมานตนอย่างโยคี อดอาหารจนผ่ายผอม หรือเอาหนามมาทิ่มแทงตน ก็ถือว่าอยู่บนทางสายกลางแล้ว
แม้ไม่ได้ใช้ชีวิตในทางสุดโต่งอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่าอยู่บนทางสายกลางไม่ได้ หากเรายังปล่อยใจให้เหวี่ยงไปมาระหว่าง ...
5 ก.ค. 63 (เช้า) - มั่นคงบนทางสายกลาง : วันอาสาฬหบูชา เป็นโอกาสดีที่ชาวพุทธควรกลับมาใคร่ครวญว่าชีวิตของเราดำเนินอยู่บนทางสายกลางมากน้อยเพียงใด หลายคนเข้าใจว่าในเมื่อตนไม่ได้หมกมุ่นในกามสุข ไม่ได้ปรนเปรอหรือบำเรอตนด้วยสิ่งเสพทั้งวันทั้งคืน อีกทั้งไม่ได้ทรมานตนอย่างโยคี อดอาหารจนผ่ายผอม หรือเอาหนามมาทิ่มแทงตน ก็ถือว่าอยู่บนทางสายกลางแล้ว
แม้ไม่ได้ใช้ชีวิตในทางสุดโต่งอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่าอยู่บนทางสายกลางไม่ได้ หากเรายังปล่อยใจให้เหวี่ยงไปมาระหว่าง การหลงในสุข กับการจมในทุกข์ กล่าวคือเวลาเจอสิ่งที่ถูกใจ ใจก็หลงเพลินในความสุขจนลืมเนื้อลืมตัว อาจถึงขั้นกระโดดโลดเต้น ครั้นเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจหรือมีอะไรมากระทบ ก็จมอยู่ในความทุกข์ เจ่าจุกห่อเหี่ยว ไม่มีเรี่ยวแรงทำอะไร ปล่อยให้ทุกข์ท่วมทับ อย่างนี้ก็เป็นการทรมานตนอย่างหนึ่ง
ใจที่เพลินในสุข จมในทุกข์เช่นนี้ ย่อมผลักดันให้ชีวิตไปข้องติดอยู่บนทางสุดโต่งได้ง่าย ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาใจให้เป็นปกติ ในยามเจอสิ่งที่ถูกใจ จิตเกิดความยินดี มีความสุข ก็รับรู้แต่ไม่หลงเพลิน ไม่กระโจนเข้าหา เวลาเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจ จิตเกิดความยินร้าย มีความทุกข์ ก็รับรู้แต่ไม่ปล่อยให้มันครอบงำใจ อีกทั้งไม่ผลักไสปฏิเสธ
ใจที่ตั้งมั่นอย่างเป็นกลาง ๆ เช่นนี้ จะช่วยให้เรามั่นคงในข้อปฏิบัติ ๘ ประการที่เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายกลางได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีความพ้นทุกข์เป็นจุดหมาย
View more