ธุรกิจที่คำนึงถึงเรื่องความสามารถในการขยายธุรกิจตั้งแต่แรก มักจะมีความสามารถในการ scale สูงมากตามไปด้วย ในมุมกลับกันหลายธุรกิจที่ไม่ได้วางแผนในเรื่องนี้ไว้ จะกลายเป็นธุรกิจที่ขยายได้ช้าหรือ nonscalable ไปเลย
.
ผมชอบนิยามการเปรียบเทียบเรื่องความสามารถในการขยายแบบ scalable / nonscalable ที่ Nassim Nicholas Taleb เคยให้ไว้ตามนี้ครับ
.
ลองจินตนาการภาพของสิ่งที่ nonscable ดู
.
สมมติว่าเราสุ่มประชากรทั่วๆไปมา 1,000 คน
.
คุณลองนึกถึงคนที่หนักที่สุดเท่าที่นึกออกแล้วนำคนนั้นเข้ามายืนในแถวด้วย สมมติว่าคนๆนี้มีน้ำหนักมากถึงสามเท่าของคนปกติ หนักประมาณสองร้อยกว่ากิโลกรัม ถึงแม้จะมีคนนี้อยู่ในแถว น้ำหนักของเขาจะถูกคิดเป็นอัตราส่วนเพียงเล็กน้อยของน้ำหนักรวมของคน 1,000 คนที่อยู่ในแถว อาจจะเป็นประมาณ0.5 % ได้
.
และถ้ายิ่งเราเพิ่มจำนวนตัวอย่างจาก 1,000 คน เป็น 10,000 คน คนที่น้ำหนักตัวมากที่สุดในกลุ่มยิ่งมีผลน้อยมากๆต่ออัตราส่วนน้ำหนักรวมทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง
.
ในสถานการณ์ nonscalable แบบนี้ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเหตุการณ์เดี่ยวๆในแต่ละครั้ง แทบจะไม่ส่งผลต่อสถานการณ์รวมทั้งหมดเลย
.
แม้ว่าเหตุการณ์เดี่ยวๆหรือตัวอย่างเดี่ยวๆจะดูน่าตื่นเต้นเพียงใด อย่างในกรณีนี้คือ น้ำหนักตัวของคนที่มีน้ำหนักมากๆ แต่จริงๆแล้วมันแทบจะไม่ส่งผลอะไรเลยต่อภาพรวมทั้งหมด
.
เพราะเราไม่มีมนุษย์ที่หนัก 10,000 ตันได้
.
นี่คือสิ่งที่เรียกว่า nonscalable
.
ตัวแปรแบบ nonscalable คือตัวแปรที่มีค่าแปรผันน้อย จะทำยังไงก็ไม่สามารถเพิ่มหรือลดได้มากนัก ซึ่งมักเป็นค่าที่เกี่ยวกับปริมาณ เช่น ความสูง น้ำหนักIQ ชั่วโมงการทำงานต่อวัน ฯลฯ
.
สมมตินะครับ ถ้าคุณมีอาชีพอะไรก็แล้วแต่ที่ต้องอาศัยตัวคุณทำงานและคุณรับค่าแรงเป็นชั่วโมง ไม่ว่าค่าแรงคุณจะแพงแค่ไหนก็ตาม คุณก็จะมีเพดานในการหารายได้ได้ประมาณนึงเท่านั้น เพราะในแต่ละวันคุณมีเวลาจำกัด
.
ในขณะเดียวกันยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า scalable
.
ซึ่ง Taleb เปรียบเทียบไว้อย่างน่าสนใจครับ
.
จากที่ตอนแรกที่เรานำคน 1,000 คนมาเข้าแถวเรียงกันโดยใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์
.
คราวนี้ทดลองใหม่โดยการเลือกประชากรทั่วไปมาแข้าแถวเหมือนเดิม แต่จะใช้ทรัพย์สินเป็นเกณฑ์แทนที่จะเป็นน้ำหนัก
.
หลักการเดียวกันกับตอนที่ให้นึกถึงคนที่มีน้ำหนักตัวมากที่สุดครับ คราวนี้ให้นึกถึงคนที่มีทรัพย์สินเยอะที่สุดที่เราพอจะนึกออก แล้วนำเขามารวมอยู่ในแถวด้วย
.
สมมติว่าเราเลือก Bill Gates มาละกัน
.
Bill Gates มีทรัพย์สินประมาณ 80 Billion USD หรือราวๆ 2.6 ล้านล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับผลรวมของทรัพย์สินของกลุ่มตัวอย่างที่เราเลือกมาอีก999 คนที่ยืนเข้าแถวอยู่นั้น ทรัพย์สินของ Bill Gates จะคิดเป็น % เท่าไรของผลรวมทั้งหมด ?
.
น่าจะราวๆ 99.9% ได้ครับ
.
ถ้าหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ การที่คนคนหนึ่งจะมีน้ำหนักตัวและส่งผลต่อผลรวมของกลุ่มมากขนาดนี้ คนคนนั้นต้องมีน้ำหนักตัวถึง 2.4 ล้านกิโลกรัม!!
.
เพราะฉะนั้นการใส่ Bill Gates เข้าไปในแถว หรือเอา Bill Gates ออกจากแถวจะส่งผลต่อผลรวมของกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นอย่างมาก
.
ติดตามเรื่องราวนี้ต่อได้ใน EP นี้เลยครับ