23 ต.ค. 66 - ธรรมสองระดับ : จะเห็นได้ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการสอนสองระดับอยู่เสมอควบคู่กันไป ระดับแรกท่านอาจารย์พุทธทาสใช้คำว่าขังคอก ให้อยู่ในกรอบ กรอบของศีลธรรม กรอบของความถูกต้อง รู้จักบังคับกดข่มอารมณ์ กดข่มอารมณ์เอาไว้ รู้จักหักห้ามใจ แต่พอถึงระดับหนึ่งท่านสอนให้ชี้ทางให้ผิดไป รู้จักปล่อย รู้จักวาง หรือว่าให้รู้ทันความคิด ให้เห็นความจริงว่ามันไม่มีอะไรที่เป็นเราเป็นของเรา ให้เข้าใจเรื่องอนัตตา ในขณะที่ระดับพื้นฐาน ท่านก็สอนให้รักตน รักตนไว้ก่อน
23 ต.ค. 66 - ธรรมสองระดับ : จะเห็นได้ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการสอนสองระดับอยู่เสมอควบคู่กันไป ระดับแรกท่านอาจารย์พุทธทาสใช้คำว่าขังคอก ให้อยู่ในกรอบ กรอบของศีลธรรม กรอบของความถูกต้อง รู้จักบังคับกดข่มอารมณ์ กดข่มอารมณ์เอาไว้ รู้จักหักห้ามใจ แต่พอถึงระดับหนึ่งท่านสอนให้ชี้ทางให้ผิดไป รู้จักปล่อย รู้จักวาง หรือว่าให้รู้ทันความคิด ให้เห็นความจริงว่ามันไม่มีอะไรที่เป็นเราเป็นของเรา ให้เข้าใจเรื่องอนัตตา ในขณะที่ระดับพื้นฐาน ท่านก็สอนให้รักตน รักตนไว้ก่อน
เช่นเดียวกันในระดับพื้นฐานท่านก็สอนให้รู้จักละชั่ว หรือเว้นชั่วและทำดี ในโอวาทะปาติโมกข์สองข้อแรกเราคุ้นกันดี พอถึงข้อสามท่านสอนว่าให้รู้จักทำจิตให้บริสุทธิ์ ก็คือไม่ใช่แค่ทำดีอย่างเดียวแต่ต้องรู้จักทำจิตหรือทำใจด้วยจึงจะได้เข้าถึงสัจธรรม ทำดีมันก็ยังเป็นระดับจริยธรรมซึ่งก็ยังคงอยู่ในระดับสมมติ ในระดับโลกียะ แต่พระพุทธศาสนาไปไกลกว่านั้น สอนเรื่องโลกุตระ สอนเรื่องปรมัตถสัจจะด้วย ไม่ใช่แค่ติดอยู่กับสมมติสัจจะ ยังติดอยู่กับดีชั่ว แต่ว่าต้องรู้จักไปให้พ้นดีชั่ว เพราะว่าสุดท้ายมันก็ยังเป็นสมมติอยู่ ต้องเข้าถึงปรมัตถสัจจะ เข้าถึงสภาวะที่เรียกว่าโลกุตระซึ่งมีนิพพานเป็นเป้าหมายไม่ใช่แค่ความร่ำรวยในชาตินี้ หรือการไปสุคติ หรือการเข้าถึงสวรรค์ในชาติหน้า
เราต้องเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งสองระดับ และนำมาใช้ให้ถูก ในบางครั้งเราก็อาจจะต้องอยู่ในกรอบของความถูกต้อง แต่ขณะเดียวกันเราก็รู้ว่า ถ้ายึดมันถือมั่นมากไปมันก็เป็นโทษ ก็ต้องสามารถที่จะออกจากกรอบนั้น จนกระทั่งได้เห็นหรือเข้าถึงสภาวะที่เป็นการปล่อยวาง
ถ้าเราเข้าใจธรรมะสองระดับที่ว่านี้ การปฏิบัติก็จะถูกต้อง และเวลาสอนคน เราก็จะสอนได้ถูกต้องสมกับภูมิหลังหรืออินทรีย์ของเขา
View more