2 ส.ค. 64 - รักษาใจให้รู้สึกตัวอยู่เสมอ : เพราะว่ารู้สึกตัวก็คือภาวะที่โปร่ง โล่ง อิสระ หรือปลอดจากความอยาก หรืออารมณ์ใดใดทั้งปวง มันแค่รู้เฉยๆ พอรู้สึกตัวแล้ว มันก็จะเห็น การเห็นไม่เข้าไปเป็น ก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะความรู้ตัว มันไม่มีการแบ่งแยกตัดสิน มันเป็นภาวะที่เปิดรับ รับรู้สิ่งต่างๆอย่างที่มันเป็น ไม่ว่าอารมณ์ภายใน หรือว่าวัตถุภายนอก แล้วพอเรารู้สึกตัว มันไม่ใช่แค่รู้ทัน หรือเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ไปข้องแวะกับมันเท่านั้น
คือ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น แต่ว่ายังทำให้รับรู้โลกภายนอกได้อย่างแจ่มชัด...
2 ส.ค. 64 - รักษาใจให้รู้สึกตัวอยู่เสมอ : เพราะว่ารู้สึกตัวก็คือภาวะที่โปร่ง โล่ง อิสระ หรือปลอดจากความอยาก หรืออารมณ์ใดใดทั้งปวง มันแค่รู้เฉยๆ พอรู้สึกตัวแล้ว มันก็จะเห็น การเห็นไม่เข้าไปเป็น ก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะความรู้ตัว มันไม่มีการแบ่งแยกตัดสิน มันเป็นภาวะที่เปิดรับ รับรู้สิ่งต่างๆอย่างที่มันเป็น ไม่ว่าอารมณ์ภายใน หรือว่าวัตถุภายนอก แล้วพอเรารู้สึกตัว มันไม่ใช่แค่รู้ทัน หรือเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ไปข้องแวะกับมันเท่านั้น
คือ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น แต่ว่ายังทำให้รับรู้โลกภายนอกได้อย่างแจ่มชัดด้วย เวลาใจไม่ลอย ไม่ฟุ้ง มีสติ มีความรู้สึกตัว จะรู้สึกเลยว่ามันรับรู้อะไรชัด แต่ถ้าใจลอยเมื่อไหร่ มันจะเหมือนกับว่าสิ่งรอบตัวมันเบลอๆ การรับรู้มันไม่ชัด มันเบลอ ๆ คนเราไม่ค่อยสังเกตหรอก คนที่ไม่เคยอยู่กับความรู้สึกตัวนานๆ จะไม่รู้สึกว่า มันเกิดความรู้สึกที่แจ่มชัด เพราะอยู่กับความเบลอมาตลอด เหมือนกับละเมอ
แต่พอได้สัมผัสกับความรู้สึกตัว และอยู่กับความรู้สึกตัวต่อเนื่อง ก็จะพบว่าการรับรู้โลกภายนอกมันชัด เหมือนกับตื่น ไม่ใช่หลับ บางทีเขาก็เรียกว่าตื่นรู้ ตื่นรู้คือภาวะที่เกิดจากความรู้สึกตัว ทีแรกตื่นรู้หรือรับรู้โลกภายนอกอย่างแจ่มชัด ต่อไปโลกภายในก็จะเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ แล้วการที่จะเห็นสัจธรรมความจริงก็เพราะความรู้สึกตัวซึ่งมาควบคู่กับสติ
เพราะฉะนั้น ทำความเข้าใจและสัมผัสความรู้สึกตัวให้เรื่อยๆ ซึ่งก็ไม่ได้ยากอะไร ทำอะไรก็ทำด้วยความรู้ตัว ตัวอยู่ไหน ใจอยู่นั่น ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ใช่แค่เดินจงกรม สร้างจังหวะ อย่างที่เราสวดเมื่อวันก่อนเรื่องสติปัฏฐาน
พระพุทธเจ้าสอนให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เวลาเดินไปข้างหน้า ถอยไปข้างหลัง เวลามองไปข้างหน้า เหลียวซ้ายแลขวา เวลาคู้เหยียดอวัยวะ ทำความรู้สึกตัว เวลาทรงบาตร จีวร สังฆาฏิ ทำความรู้สึกตัว เวลากิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม อุจจาระ ปัสสาวะ แม้กระทั่งอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัว เวลายืน เดิน นั่ง หลับ ลืมตา นิ่ง พูดคุย ก็เป็นอิริยาบถธรรมดา แท้ๆ ถ้าหากว่าเราทำอย่างถูกต้อง มันก็จะเกิดความรู้ตัวขึ้นมา
มันเป็นเรื่องพื้นฐานที่ดูไม่ได้หวือหวาอะไร ไม่เหมือนกับการนั่งหลับตา ดูมีภาพที่ดี แต่ว่าการกินดื่มเคี้ยว ลิ้ม ทำด้วยความรู้สึกตัว มันก็เป็นการภาวนาที่มีค่าได้ สิ่งที่เป็นพื้นๆ ถ้าเราทำด้วยความรู้สึก จะทำให้เป็นสิ่งที่มีค่ามากทีเดียว เพราะฉะนั้น อย่าลืม ความรู้สึกตัวพยายามรู้จัก สัมผัส และรักษาให้อยู่กับเนื้อกับตัวไปเรื่อยๆนานๆบ่อยๆ
View more