รัฐไทยอยู่กับระบอบเผด็จการในรูปแบบต่างๆ มานาน แม้ว่ามีความพยายามในศตวรรษที่ 20 ที่จะออกจากรูปแบบเผด็จการหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีผลอย่างยั่งยืนสักครั้ง ในที่สุดเผด็จการโดยตรงหรือซ่อนรูปก็กลับมาครอบงำรัฐใหม่อีกทุกทีไป
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คงไม่ผิดที่จะพูดอย่างที่พูดกันอยู่เสมอว่า องค์กรและสถาบันสำคัญทางสังคม-การเมืองของไทย เช่น กองทัพ, ทุน, สถาบันพระมหากษัตริย์, สถาบันและระบบการศึกษา, องค์กรทางศาสนาและวัฒนธรรม ไม่ยอมขยับปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบปกครองอย่างอื่น นอกจากเผด็จการในรูปต่างๆ
แต่ความเหนียวแน่นคงทนของเผด็จการในรัฐ (และสังคม) ไทย ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า มันน่าจะมีอะไรที่ “ลึก” กว่าปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวแล้ว อย่างน้อยก็เพราะทั้งหมดเหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยภายนอกความเป็นมนุษย์ของคนไทย สิ่งที่ควบคู่กันไปกับพฤติกรรมของสถาบันและองค์กรดังกล่าวแล้ว คือวัฒนธรรมไทย (โลกทัศน์และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบไทย) ต่างหาก ซึ่งเป็นพื้นฐานอันเอื้ออำนวยให้ระบอบเผด็จการงอกงามอย่างไม่เสื่อมคลาย
พูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือ คนไทยเองหรือวัฒนธรรมไทยเองนั่นแหละ มีส่วนอยู่ไม่น้อยที่ช่วยอุดหนุนให้ระบอบเผด็จการยืนยงอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน
ด้วยเหตุดังนั้น ผมจึงอยากจะวิเคราะห์วัฒนธรรมไทย เท่าที่ผมมีความสามารถ แต่ก็วิเคราะห์เฉพาะในส่วนที่เกื้อหนุนให้ระบอบเผด็จการดำรงอยู่ได้อย่างคงทนในประเทศนี้
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2021/12/96206
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน