9 ส.ค. 63 (เช้า) - วิถีโลก วิถีธรรม : อย่างไรก็ตามวิถีของโลกกับวิถีของธรรม มันก็แตกต่างกัน จะเรียกว่าบางทีหรือบางครั้งก็สวนทางกันทีเดียวเลย อย่างเช่น วิถีของโลก ความสุขเกิดจากการมี การครอบครอง การได้การสะสม อันนี้เป็นวิถีโลกส่วนวิถีธรรม ความสุขเกิดจากการละ หรือว่าเริ่มต้นด้วยการละ ถ้าในทางโลกนั้นต้องมีเยอะๆ ต้องมีมากๆถึงจะมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เพชรนิลจินดา มีรถ มีบ้านเยอะๆ ถึงจะมีความสุข บางทีมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ
อย่างเมื่อเดือนที่แล้วได้ข่าวภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียมีกระเป๋าแฮนด์เม...
9 ส.ค. 63 (เช้า) - วิถีโลก วิถีธรรม : อย่างไรก็ตามวิถีของโลกกับวิถีของธรรม มันก็แตกต่างกัน จะเรียกว่าบางทีหรือบางครั้งก็สวนทางกันทีเดียวเลย อย่างเช่น วิถีของโลก ความสุขเกิดจากการมี การครอบครอง การได้การสะสม อันนี้เป็นวิถีโลกส่วนวิถีธรรม ความสุขเกิดจากการละ หรือว่าเริ่มต้นด้วยการละ ถ้าในทางโลกนั้นต้องมีเยอะๆ ต้องมีมากๆถึงจะมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เพชรนิลจินดา มีรถ มีบ้านเยอะๆ ถึงจะมีความสุข บางทีมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ
อย่างเมื่อเดือนที่แล้วได้ข่าวภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียมีกระเป๋าแฮนด์เมด 500 ใบ ไม่ได้มีไว้ขาย แต่ใช้ส่วนตัว ใบละประมาณ 3 แสน ไม่รู้ว่าสะสมไปได้อย่างไร มี 10 ใบก็ถือว่าเหลือเกินแล้วแต่นี่ไปเก็บไปช็อปมาถึง 500 ใบ ไม่รู้ว่าเพราะอะไร เอาไปเก็บเป็นตู้ๆเลย เพราะเขาคิดว่าถ้ามีแล้วจะมีความสุขจะต้องมีมากๆ อันนี้คือวิถีโลก
ส่วนวิถีธรรมนั้นตรงข้ามเลย ความสุขเกิดจากการละ หรือเริ่มต้นด้วยการละ เช่น การให้ทาน การบริจาคอันนี้เป็นวิถีสู่ความสุขขั้นพื้นฐานเลยทีเดียวสำหรับชาวพุทธ เมื่อเราให้ทาน เมื่อเราสละสิ่งของ เพื่อผู้อื่น มันก็ช่วยทำให้ผู้อื่นมีความสุข พอคนอื่นมีความสุขเราก็พลอยมีความสุขไปด้วย อีกประการหนึ่งพอสละแล้วทำให้เราเกิดความตระหนี่ พอบริจาคแล้วก็ลดความยึดติดถือมั่น ทำให้จิตใจโปร่งเบา แล้วยิ่งถ้าหากว่าจิตใจไม่ข้องเกี่ยวยึดติดกับทรัพย์สิน เงินทอง รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่ากาม คืออารมณ์ที่น่าใคร่น่าพอใจ เรียกว่าสละออกไปจากใจ มันก็ยังมีความสุข เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ แม้มีคุณ ก็คือให้ความสุขแก่เรา เพราะว่าสิ่งเหล่านี้แม้มันจะมีคุณ ก็คือให้ความสุขกับเรา แต่มันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะมันเป็นภาระสำหรับผู้ที่มีปัญญาจะเห็นว่า ภาระหรือว่าข้อเสียของมัน มากกว่าความสุขที่มันให้เราด้วยซ้ำ เรียกว่าเป็นสุขที่เจือไปด้วยทุกข์
เพราะฉะนั้น ถ้าไปเกี่ยวข้องกับมันด้วยความยึดติด มุ่งสะสม มันก็เกิดความทุกข์ เป็นภาระทั้งทางกายและทางใจ ทางกายก็คือต้องหาที่หาทางให้มัน ต้องคอยปัดกวาดเช็ดถูดูแลมัน ระมัดระวังไม่ให้ใครมาขโมยเอาไป ส่วนภาระทางใจก็คือความห่วงใย ความวิตก ความกลัวว่ามันจะเสื่อม จะเสีย จะหายไป แต่ถ้าละได้ อย่างน้อยก็ละทางใจ ก็มีความสุข แม้จะมีก็มีโดยไม่ทุกข์ มีเพื่อแบ่งปัน มีเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น อย่างท่านอนาถบิณฑิกะ ท่านมี แต่มีด้วยใจที่ละ ให้ไปก็ไม่เสียดาย หมดไปก็ไม่ทุกข์ อันนี้เรียกว่าเป็นสุขที่เกิดจากการละ
View more